วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบ AS/RS

 ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
Automated Storage/Retrieval System หรือเรียก AS/RS )

ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค้า
               ระบบเทคโนโลยีเพื่อการจัดการคลังสินค้า นอกจากจะใช้ระบบซอฟแวร์ในการบริหารคลังสินค้าแล้ว ปัจจุบันทุกคลังสินค้าได้นำระบบBarcode มาใช้เพื่อเป็นการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงมากในเรื่องการลดความผิดพลาด สามารถเก็บรวบรวมข้อมูล ตรวจเช็คสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนนับ ลดความผิดพลาดในการทำงานได้มาก นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้าสมัยใหม่เป็นจำนวนมากที่เริ่มนำเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในคลังสินค้าให้สะดวก และรวดเร็ว ลดความผิดพลาดจากการทำงาน สามารถสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนจากการทำงาน ระบบเทคโนโลยีที่ใช้กับคลังสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมคุมเครื่อง
                          2. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมจัดการวัสดุและสินค้าคงคลัง
                          3. ระบบฐานข้อมูล (Database System)
                          4. เทคโนโลยีในการบ่งบอกและติดตามสินค้า

       โดยมีรายละเอียดและสาระสำคัญของระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในคลังสินค้า ดังนี้
                          1. เทคโนโลยีที่เป็นโปรแกรมควบคุมเครื่อง ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
                           1.1 Computer Aided Design (CAD) หมายถึง การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลดความสูญเสียและเสียหายในส่วนงานขององค์การ ใช้มากในกระบวนการผลิต
                           1.2 Computer Aided Manufacturing (CAM) หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์เข้าควบคุมเครื่องจักรและเครื่อง มือต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในกระ บวนการผลิตแต่ละจุด ช่วยในการวางผังในกระบวนการ ระบบการใช้ในปัจจุบันจะใช้เชื่อมโยงระหว่างกระบวนการผลิตกับการจัดซื้อ การจัดเก็บรักษา และสินค้าคงคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาวะที่สมดุล และเหมาะสม
                        1.3 ระบบการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ AS/RS (Automatic Storage & Retrieval System) เป็นวิธีการควบคุมทางคอมพิวเตอร์สำหรับการเก็บ และการนำเอาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาจากสถานที่จัดเก็บ

                          1.4 ระบบควบคุมพาหนะนำทางอัตโนมัติ AGVs (Automated guided vehicles) เป็นส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการทำงานของพาหนะทำงานอัตโนมัติ ที่เชื่อมต่อกับระบบขนถ่ายอื่น ๆ เช่น สายพาน การนำทางพาหนะสามารถใช้ระบบนำทางด้วยเลเซอร์ การฝังสายไฟใต้พื้น หรือฝังแม่เหล็กลงในพื้นคลังสินค้าและควบคุมการทำงานของพาหนะที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้าด้วยคอมพิวเตอร์ พาหนะเหล่านี้เป็นรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าไม่ใช้คนขับ ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำงานตามคำสั่งด้วยระบบคลื่นวิทยุ หรือการฝังสายใต้พื้น อุปกรณ์ควบคุมจะจับสัญญาณบนพาหนะว่ามีการเคลื่อนที่ตามกำหนดหรือไม่ สัญญาณจะถูกส่งไปยังมอเตอร์พวงมาลัยเพื่อบังคับทิศทางให้สามารถไปหยิบสินค้าจากสถานที่จัดเก็บไปส่งยังสถานที่ที่กำหนดระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ 

              ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ
      ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RSทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

            ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
                       - Unit Load AS/RS
                       - Miniload AS/RS
                       - Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
                       - Automated Item Retrieval System
                       - Deep-Lane AS/RS

            องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
                     1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
                     2.  เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
                     3.  หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
                     4.  สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

           อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
                    1. รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
                    2. อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
                    3. สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
                    4. สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

           การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
                   การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
                           1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
                           2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
                           3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

          การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
                   1.ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
                   2. สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
                   3. ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
                   4. สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
                   5.ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
                   6. สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

   ภาพประกอบ AS/RS   

ภาพประกอบของระบบ AS/RS 
 ภาพที่ 1
 ภาพประกอบของระบบ AS/RS 
 ภาพที่ 2
                                                         ภาพประกอบของระบบ AS/RS

                                                                                      ภาพที่ 3
ภาพประกอบของระบบ AS/RS 

  
ภาพที่ 4
ภาพประกอบของระบบ AS/RS 

   วิดีโอระบบ AS/RS




ข้อดีของระบบ AS/RS
                 Automated Storage and Retrieval System เป็นระบบที่สามารถรับและจัดเก็บสินค้าเข้าคลังได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ลดระยะเวลาการทำงาน และลดจำนวนพนักงานงานในการจะเก็บสินค้า ระบบ AS/RS จะคำนวณการจัดเก็บสินค้าที่มีอัตราการเคลื่อนไหวสูงไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม สะดวกต่อการหยิบ อีกทั้งยังช่วยป้องกันความเสียหายในการขนย้ายสินค้า และช่วยจัดเรียงสินค้าให้เป็นระบบและระเบียบมากขึ้น ระบบสามารถนำไปใช้ร่วมกับ โปรแกรมระบบจัดการในคลังสินค้า (Warehouse Management System Software,

ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    เพิ่มความรวดเร็วในการคัดแยกสินค้าลดเวลาการทำงานและลดงานที่ซ้ำซ้อนคัดแยกถูกต้องแม่นยำ100%ประหยัดพื้นที่คัดแยกสินค้า
                    ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้าเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า,ทำงานรวดเร็ว แม่นยำบริหารทรัพยากรบุคคลประหยัดพลังงาน
                    ระบบ AS/RS เหมาะกับงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ  ที่มีการขนถ่ายสินค้าครั้งละมากๆ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแม่นยำและประหยัดพลังงานคนในการขนย้าย


 
สรุป 
                       โรงงานอุตสหกรรมขนาดใหญ่ มีความจำเป็นที่ต้องนำระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและ มีคว่ทคล่องตัวสูงในการเรียกสินค้าเพื่อรวดเร็วในการจัดส่งให้ลูกค้าได้อย่างทันเวลา และสามารถลดต้นทุนทางด้านบุคลากรได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งครั้งแรก และการดูแลรักษา 

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ AGV และสายพานลำเลียง

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ AGV และสายพานลำเลียง

รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV 

มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้รถ AGV แต่ละชนิดรับน้ำหนักได้ต่างกันตั้งแต่ 400-1,200 กิโลกรัม หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท โดยมีความเร็วในการขับเคลื่อน 1.2-1.7 เมตร ต่อวินาทีรถ AGV ทุกคันจะติดตั้งระบบเลเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ประกันได้ว่ามีระดับความปลอดภัยสูงสุด โดยติดตั้งทั้งด้านหน้าและหลังของตัวรถ และแบ่งการเตือนภัยออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่เตือนภัย( Warning Area)และพื้นที่หยุด (Stopping Area) กล่าวคือ ถ้ามีบุคคลเดินเข้าในเขตพื้นที่เตือนภัย รถ AGV จะลดความเร็วลงจากความเร็วสูงสุด (Maximum Speed) เป็นลักษณะแบบเคลื่อนที่ช้า (Crawling Speed) และถ้าตรวจจับได้ในพื้นที่หยุด รถ AGV จะหยุดทันที โดยระยะทางของพื้นที่เตือนและพื้นที่หยุด จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความเร็วของรถ AGVรถขนส่งชิ้นงานอัตโนมัติ หรือ รถ เอจีวีคือรถที่สามารถแบกหรือลากน้ำหนักต่างๆเพื่อพาไปส่งให้กับตำแหน่งหรือสถานีที่ต้องการได้ ส่วนมากจะใช้ในการส่งชิ้นงานในไลน์การผลิต. ยี่ห้อ Carry Bee เป้นรถ เอจีวี ตระกูลญี่ปุ่น ซึ่งสามรถลากหรือแบกน้ำหนักและควบคุมการทำงานแบบไร้สายผ่านจากระบบ PLC สามารถรองรับน้ำหนักได้ถึง 3 ตันข้อดี  - รถ AGV สามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้พนักงานขับ - รถ AGV ทํางานได้ตรงเวลา ไม่ต้องการเวลาหยุดพัก และไม่ลาหยุดหรือลากิจ - รถ AGV ลดความผิดพลาดจากคน เช่น การขับเฉี่ยว ชน ที่เกิดจากความประมาท - รถ AGV ลดความล่าช้าของการส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์จากพนักงานขับ และการจราจรในโรงงาน - รถ AGV สามารถรับน้ําหนักได้มาก จึงลดความเมื่อยล้าจากพนักงานเข็นขนส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ - -รถ AGV ลดปัญหามลพิษในโรงงาน เนื่องจากใช้แบตเตอร์รี่ - รถ AGV สามารถลดค่าใช้จ่ายจากค่าแรงงานและค่าบํารุงรักษารถขนส่ง (โฟล์คลิฟท์) เป็นต้นการใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้ 1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV 2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV 3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง 4) การเพิ่มความจุของรถ AGV



สายพานลำเลียง (Conveyor)

Belt Conveyor
สายพานลำเลียงเป็นสายพานที่ใช้ขนส่งวัสดุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยจะต้องมีตัวขับและพูเลย์ในการทำให้สายพานเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ของสายพานจะเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างสายพานกับพูเลย์ แรงเสียดทานดังกล่าวจะขึ้นอยุ่กับผิวสัมผัส ระหว่างสายพานกับพูเลย์ และแรงดึงให้สายพานตึง จากลักษณะการใช้งานสายพานจึงต้องมีสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ คือ

ความทนทานต่อแรงเฉือน (Tear strength)
ระหว่างใช้งาน ชั้นยางและผ้าใบแต่ละชั้นจะรับแรงในการขับเคลื่อนสายพานในปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อผ่านพูเลย์ ยางผิวด้านล่างจะเกิดแรงกด ส่วนยางผิวด้านบนจะถูกยืดออก และชั้นผ้าใบแต่ละชั้นก็รับแรงไม่เท่ากัน ระหว่างชั้นวัสดุแต่ละชั้นของสายพาน จะมีแรงเฉือนเกิดขึ้น แรงเฉือนดังกล่าวจะกระทำกับแต่ละจุดของสายพานมีลักษณะเป็นรอบ อาจทำให้เกิดปัญหาแยกชั้นของสายพานได้หากแรงยืดของแต่ละชั้นไม่แข็งแรงพอ การทดสอบผลิตภัณฑ์สายพานลำเลียงจึงต้องมีการทดสอบ สมบัติความทนทานต่อแรงเฉือนของสายพาน เกี่ยวกับการยึดติดระหว่างผ้าใบกับยางและระหว่างผ้าใบกับผ้าใบแต่ละชั้น

ความทนทานต่อการสึกหรอ (Abrasion Resistance)
สายพานจะเกิดการเสียดสีตลอดเวลาในระหว่างการใช้งาน โดยเฉพาะที่ผิวยางบน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับวัสดุที่ต้องการจะลำเลียงวัสดุแต่ละชนิด จะทำให้เกิดการสึกหรอแตกต่างกัน จึงต้องมีการตรวจสอบทุกครั้งในการผลิตสายพานลำเลียง

ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Resistance)
การใช้งานสายพานลำเลียงมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การใช้งานกลางแจ้งยางผิวที่ใช้จะต้องมีความทนทานต่อแสง UV ออกซิเจน และโอโซน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้สายพานเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น การใช้งานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น นำ้มัน, กรดหรือด่าง, เป็นต้น ยางผิวที่ใช้ควรมีสมบัติที่สามารถทนทานต่อสารเคมีดังกล่าวได้
ความทนทานต่อความร้อน สายพานที่ผ่านพูเลย์จะเกิดการผิดรูปที่มีลักษณะเป็นคาบ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม (heat build up) ขึ้นได้ โดยเฉพาะสายพานที่ใช้แรงดึงและเดินรอบสูง ๆ จะเกิดความร้อนขึ้นมาก ซึ่งอาจจะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นได้
ส่วนสมบัติอื่นที่ควรมีการคำนึงถึง คือ ความทนทานต่อแรงดึง และความทนทานต่อความล้า ยางผิวสายพานต้องมีความทนทานต่อแรงดึงพอสมควรเนื่องจาก จะต้องรับแรงดึงที่ใช้ขับเคลื่อนสายพาน และต้องมีความทนทานต่อความล้าด้วย เนื่องจากการผิดรูปลักษณะเป็นรอบดังกล่าวข้างต้น

สายพานลำเลียง (Conveyor Belt System) คือ ระบบลำเลียงเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์หรือลำเลียงกระสอบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยใช้สายพานลำเลียง (Belt) และมอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อนสายพานลำเลียงกระสอบ หลังจากผ่านกระบวนต่าง ๆ ของทางโรงงานเรียบร้อยแล้วและต้องการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ไปที่ต้องการ ดังนั้นระบบสายพานลำเลียงจึงเหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่

ระบบสายพานลำเลียง (Belt Conveyor System) มี 4 ประเภท

1. ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)

ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor (แบบพลาสติก)
ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray

2. ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)

ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ)
ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร เป็นต้น

3. ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)

ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC)
ระบบสายพานลำเลียง PVC Belt Conveyor System (แบบ PVC) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC สามารถทนความร้อนได้และราคาถูก ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบ PVC จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เหมาะสำหรับงานลำเลียงในอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าที่บรรจุหีบห่อที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาด

4. ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System

ระบบสายพานลำเลียง Metal Detector Belt Conveyor System
Belt Conveyor System (เครื่องตรวจหาโลหะ) มีระบบสายพานลำเลียง 2 แบบ คือ 1.แบบพลาสติก 2. แบบ PVC สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุเข้าเครื่องตรวจหาโลหะ หลังจากชิ้นงานหรือวัสดุผ่านกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ มาแล้ว เมื่อมาถึงเครื่องตรวจหาโลหะ ในรูปแบบบรรจุภัณฑ์หรือรูปแบบชิ้นงาน เช่น ซองพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ยาง เครื่องตรวจหาโลหะใช้พลังงานแม่เหล็ก โดยทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (Electro Magnetic Field) เมื่อมีโลหะ เช่น เหล็กปนอยู่ในแผ่นยาง เครื่องจะทำการแจ้งเตือนในรูปแบบต่างๆ เช่น ร้องเตือน ผลักออก หรือหยุดเครื่อง

ระบบสายพานลำเลียงกระสอบ หลัก ๆ แบ่งได้อยู่ 3 ประเภท

1. สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt)
สายพานลำเลียงกระสอบ
สายพานลำเลียงแบบยาง (Pvc Belt) สายพานลำเลียงกระสอบแบบยาง (Pvc Belt Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่น้ำหนักไม่มาก สามารถทนความร้อนได้สูง เนื่องจากเป็นเนื้อสายพานที่มีราคาไม่สูงทำให้นิยมนำมาใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร (Food Grade) เพราะผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาและต้องการความสะอาดเป็นส่วนมาก ตัวเนื้อสายพานผลิตจากยางหน้าเรียบนำมาต่อกับเป็นเส้นโดยใช้ระบบแบบการต่อฟันปลา

2. สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor)

สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat)

สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat)สายพานลำเลียงกระสอบแบบไม้ (Wood Slat Conveyor System) สำหรับลำเลียงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น กระสอบข้าวสาร กระสอบปุ๋ย เป็นต้น เนื่องจากใช้ไม้ที่มีขนาดใหญ่ ทนทานและหนาทำให้สามารถรอบรับน้ำหนักได้มากถึง 300 กิโลกรัม การทำงานของสายพานลำเลียงคือใช้มอเตอร์เกียร์เป็นตัวขับเคลื่อน โดยใช้โซ่ขับ สามารถปรับความเร็วรอบของสายพานสามารถตามขนาดที่ลูกค้าต้องการได้

3. สายพานลำเลียงแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor)

สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ


สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor) สายพานลำเลียงกระสอบแบบยางดำ (Rubber Belt Conveyor System) สำหรับใช้ลำเลียงสิ่งของได้หลายอย่าง โดยส่วนมากจะนำไปลำเลียงผลิภัณฑ์ที่มีขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากเพราะสายพานลำเลียงแบบยางดำนั้นมีความทนทานต่อการเสียหายได้เป็นอย่างดี สามารถออกแบบระบบสายพานลำเลียงและระบบไฟฟ้าคอนโทรลคอบคุมสายพานลำเลียงได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม



EMIEW3 

หุ่นยนต์ที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้โดยมีการรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ภายนอกหลากหลายตัว
ข้อมูลที่จำเป็นในการให้บริการคือเมื่อมีการประมวลผลผ่านแพลตฟอร์ม IT ในวิทยาการหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับระบบคลาวด์แล้ว จะมีการส่งข้อมูลกลับมายังตัวหุ่นยนต์ ซึ่งจะช่วยให้มันสามารถนำทาง สื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้างได้
โครงสร้างพื้นฐาน IT นี้ยังสามารถหลอมรวมกับระบบปฏิบัติการที่มีอยู่เพื่อให้บริการธุรกิจอัจฉริยะโดยการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้เรายังนำเสนอโซลูชั่นสำหรับธุรกิจด้วยหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อถึงกัน
ประวัติความเป็นมาของวิทยาการหุ่นยนต์ที่ฮิตาชิกรุ๊ปย้อนไปเมื่อช่วงปี 1960 เริ่มต้นจากเซอร์โวหุ่นยนต์ของเรา ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมทางไกลที่ควบคุมการปฏิบัติการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตั้งแต่นั้นมา ฮิตาชิก็ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่หลากหลายกว้างขวางโดยมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เชิงกล เช่น อุปกรณ์ทดสอบเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์ด้านการเงินต่างๆ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่มีไว้ใช้สำหรับสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงอย่างเช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ทีมวิจัยและพัฒนาของฮิตาชิให้ความสำคัญกับการพัฒนาการควบคุมแบบอัตโนมัติและการประมวลผลอัจฉริยะ วิทยาการหุ่นยนต์ที่ล้ำสมัยของเราได้กลายเป็นสื่อกลางในการนำเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาใช้ในชีวิต ในปี 2005 ฮิตาชิกลายเป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่สามารถพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์ได้ การเปิดตัวฟังก์ชันการทำงานที่ได้รับการพัฒนาในหลายๆ ระยะด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ในปี 2016 ฮิตาชินำเสนอหุ่นยนต์ EMIEW3 ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ให้บริการความช่วยเหลือโดยสามารถพูดคุยและทำงานกับผู้คนได้
นอกจากนี้เรายังให้ความสำคัญกับการร่วมสรรสร้างไปพร้อมกันกับลูกค้าเพื่อสร้างให้เกิดคุณค่าใหม่ ปัจจุบัน เรากำลังสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ เพื่อใช้ในการทดลองสาธิตอย่างมุ่งมั่นด้วยความร่วมมือจากหลากหลายพื้นที่ที่เราใช้ปฏิบัติการเพื่อให้ได้ต้นแบบคุณภาพสูงในการบริการลูกค้าของเรา

เครื่องจักร NC,CNC,DNC

เครื่องจักร NC (Numerical Control)


 เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.


ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.

ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
       1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.

       2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)

คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ประกอบไปด้วยเครื่องอ่านเทปช่องส่งสัญญาณควบคุม(Control Output Signal) ระบบการตรวจสอบแล้วส่งผลย้อนกลับ(Feedback Transducer) และแผงควบคุม(Control Panel) สำหรับควบคุมการเปิด/ปิดเครื่องจักร NC
      3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)
เป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เราเขียนขึ้น







เครื่องจักร CNC (Computer Numerical Control)



เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม

        เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป และอาจกล่าวได้ว่าความก้าวหน้าของเครื่องจักรกลประสิทธิภาพสูงหลายประเภทในยุคปัจจุบันล้วนแต่มีรากฐานมาจากเครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้ทั้งสิ้น รูปที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องกลึงที่ใช้แรงงานคนในการหมุนเกลียวขับเพื่อป้อนมีดกลึงเข้าหาชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติงานกับเครื่องกลึงหรือเครื่องจักรกลพื้นฐานอื่นๆ จะต้องมีทักษะและความชำนาญในการหมุนเกลียวขับที่ใช้ในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าหาชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่ถึงกระนั้นพบได้บ่อยว่าผู้ปฏิบัติงานต้องใช้เวลามากในการผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการมองเห็นของผู้ปฏิบัติงาน และความคลาดเคลื่อนเนื่องจากการวัดที่ต้องทำบ่อยครั้ง ในบางครั้งยังพบว่าชิ้นงานที่ได้มีความคลาดเคลื่อนทางขนาดเกินกว่าที่จะยอมรับได้

     ระบบ CNC (Computer Numerical Control) เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเปลี่ยนแปลงและควบคุมสภาพการทำงานของเครื่องจักรกลพื้นฐานดังกล่าวจากเดิมซึ่งใช้แรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร ให้เครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ระบบ CNC ยังช่วยเพิ่มความสามารถให้เครื่องจักรพื้นฐานเหล่านี้สามารถทำงานลักษณะซับซ้อนได้ด้วยความรวดเร็วและแม่นยำในระดับที่พ้นความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์โดยทั่วไปหลายสิบเท่าตัว สำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ CNC ในเครื่องจักรพื้นฐานดังกล่าว ระบบ CNC จะประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าจำนวนหนึ่งซึ่งถูกนำไปใช้ในการหมุนเกลียวขับแทนมือคน และระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ในการควบคุมมุมและความเร็วที่มอเตอร์ไฟฟ้าเหล่านั้นหมุนเกลียวขับ โดยระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวสามารถควบคุมมุมของมอเตอร์ได้ด้วยความละเอียดถึง 0.1 องศาหรือดีกว่า หรือสามารถให้ความละเอียดในการป้อนอุปกรณ์ตัดเข้าสู่ชิ้นงานสูงถึง 0.02 มม หรือดีกว่า

ในปัจจุบัน มีการใช้ระบบ CNC สำหรับเครื่องจักรพื้นฐานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ แม่พิมพ์ และในหน่วยงานสร้าง – ซ่อมอย่างแพร่หลาย หากประมาณคร่าวๆ มูลค่าเบื้องต้นของระบบ CNC ในอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในระดับหลายพันล้านบาท ในทางปฏิบัติระบบ CNC ดังกล่าวและผู้เชี่ยวชาญในระบบดังกล่าวถูกนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ ญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจาก CNC ดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีระดับสูงที่ยากต่อการออกแบบและการทำความเข้าใจจนสามารถนำมาใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม ดร.พินิจ งามสม ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการวิจัย ออกแบบ และพัฒนา จนประสบผลสำเร็จในการสร้างระบบ CNC ที่ใช้งานได้จริง โดยงานวิจัยที่เป็นรากฐานของผลงานนี้ได้รับการพิจารณาให้เป็นบทความดีเด่นสาขา Dynamics, Systems, and Control ในการประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับสากลที่มีความแข็งแกร่งทางวิชาการมากที่สุดเล่มหนึ่ง คือ Journal of Dynamic System, Measurement, and Control โดย American Society of Mechanical Engineers ในปี พ.ศ. 2546

     ระบบ CNC ที่สร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมมุม ความเร็ว และแรงบิดในการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าภายใต้ความไม่แน่นอนของภาระงานและคุณสมบัติภายในได้ 4 ตัวพร้อมกัน (ขยายได้เป็น 8 ตัวเพื่อการควบคุมแขนกลลักษณะต่างๆ) โดยใช้มาตรฐานรหัส G และ M ในการสั่งการ ระบบสามารถแสดงความก้าวหน้าของการทำงานได้ทั้งในเชิงต้วเลขและเชิงรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนพารามิเตอร์ของระบบควบคุมให้เข้ากับการใช้งานควบคุมเครื่องจักรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เครื่องกัด, เครื่องกลึง, แขนกล, เครื่องตัดพลาสม่า, เครื่องลอกพื้นผิว, และเครื่องพับโลหะ เป็นต้น ในการทดสอบ ระบบ CNC ที่สร้างขึ้น ถูกนำไปใช้ในการควบคุมเครื่องกัดที่ทำงานในสามมิติโดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจำนวน 4 ตัว ซึ่งในจำนวนนี้ มอเตอร์ 3 ตัวถูกใช้ไปในการป้อนชิ้นงานและดอกกัดในแนว X, Y, และ Z ส่วนมอเตอร์อีกหนึ่งตัวใช้ในการหมุนดอกกัดชิ้นงาน ระบบ CNC ที่ออกแบบและสร้างขึ้นนี้สามารถควบคุมให้เครื่องกัดทำงานได้โดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ ด้วยความละเอียด 0.02 มม (ถูกจำกัดด้วยระยะคลอนของเกลียวขับที่ใช้อยู่) หลังจากการพัฒนาระบบ CNC ต้นแบบเสร็จสิ้นลง ในปัจจุบันระบบ CNC ดังกล่าวมีต้นทุนในการสร้างประมาณ ุุ60,000 บาทต่อเครื่อง




เครื่องจักร DNC (Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM )





ระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน


        SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
       1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
       2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
       3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
       4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
       5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
       6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้

ระบบ AS/RS

  ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (  Automated Storage/Retrieval System  หรือเรียก  AS/RS ) ระบบเทคโนโลยีกับการจัดการคลังสินค...